วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

กิจกรรมที่ 6 ข้อมูลสำหรับทำโครงงานคอมพิวเตอร์


บุหรี่ไฟฟ้าดีกว่าบุหรี่มวนจริงไหม ?

Cr. https://thenoblethiefs.com/ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ/

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่  ตัวทำให้เกิดไอและความร้อน และน้ำยา ถ้ากล่าวถึงเฉพาะส่วนของน้ำยาที่จะถูกทำให้เป็นไอและเข้าสู่ร่างกายของผู้สูบจะประกอบด้วยสารประกอบหลัก ๆ คือ
    • นิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่พบได้ในทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ปกติทั่วไป เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่
    • โพรไพลีนไกลคอล เป็นส่วนประกอบในสารสำหรับการทำให้เกิดไอ
    • กลีเซอรีน เป็นสารเพิ่มความชื้นที่จะผสมผสานกับสารโพรไพลีนไกลคอล  องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหารและยา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย เช่นเดียวกันกับโพรไพลีนไกลคอล
    • สารแต่งกลิ่นและรส เป็นสารเคมีที่ใช้กับอาหารทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000010100801.JPEG

  • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈

การทำงานของบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ทำความร้อน เมื่อน้ำยา (e-liquid หรือ e-juice) ที่ถูกบรรจุใส่ในสำลีสัมผัสเข้ากับขดลวด จึงถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นไอระเหยส่งผ่านนิโคตินไปยังผู้ใช้ ทั้งนี้ จุดเด่นของบุหรี่ไฟฟ้าคือ การตัดการเผาไหม้ ไม่มีควัน ไม่มีขี้เถ้า จึงลดความเสี่ยงจากการรับสารพิษต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ในบุหรี่ธรรมดา เช่น สารคาร์บอนมอนนอกไซด์ และทาร์

https://mpics-cdn.mgronline.com/pics/Images/557000004923501.JPEG

  • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
  • กฏหมายไทยกับบุหรี่ไฟฟ้า

    ในปัจจุบัน บุหรี่ไฟฟ้ายังไม่สามารถซื้อขายกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายประเทศไทย มีการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายผ่านตลาดมืดหรือหรือทางอินเทอร์เน็ต โดยประกาศ กฎหมาย และความผิดที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีรายละเอียดดังนี้

    ห้ามส่งออกหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2557 หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ห้ามขายหรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวกับการห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า

    • ผู้ขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • ผู้ผลิตหรือสั่งนำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • ผู้ให้บริการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • หากมีการฝ่าฝืนจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      • https://www.ethailandlaw.com/images/infographic/law_Infographic_068.jpg


        • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈

      บุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่มวน

      เป็นความจริงที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีกลไกการทำงานที่ไม่มีกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ธรรมดา ทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายจากการเผาไหม้บางตัวเช่นน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ  

      แต่จากที่กล่าวมาข้างต้นสารประกอบอื่น ๆ ที่พบในบุหรี่ไฟฟ้าก็ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ไม่แพ้กัน นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยที่ระบุว่า ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้  

      มีภาษิตฝรั่งบทหนึ่งกล่าวว่า “ผีที่รู้จักก็ยังดีกว่าผีที่ไม่รู้จัก” เรารู้จักบุหรี่ธรรมดากันมานานมากแล้ว มีการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอันตรายของมันอย่างแทบจะทุกแง่ทุกมุมแล้ว จึงทำให้เราตระหนักในโทษภัย และเฝ้าระวังมันได้อย่างดี แต่ด้วยความที่บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นของใหม่มาก เรายังไม่มีข้อมูลวิจัยที่มากพอที่จะระบุถึงอันตรายของสารเคมีแต่ละตัวในบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ใช้ไปนาน ๆ ในระยะยาว ๆ ซึ่งการที่ยังไม่มีข้อมูลว่าอันตรายไม่ใช่แปลว่าไม่มีอันตราย เพียงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องยังต้องมีหน้าที่ที่จะต้องติดตามศึกษากันต่อไป

      https://relxthailand.com/wp-content/uploads/2020/04/Artboard-6-100-1-800x800.jpg 

        • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈

      บุหรี่ไฟฟ้าทางออกของคนอยากเลิกบุหรี่จริงหรือ?

      บุหรี่ไฟฟ้าเป็นยาสูบชนิดใหม่ ที่ผู้สูบจะได้รับสารนิโคติน ที่ระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย การสูบุหรี่ไฟฟ้าเป็นวิธีการนำสารเสพติดนิโคตินเข้าสู่ร่างกายเช่นเดียวกับบุหรี่ แต่ไม่มีการเผาไหม้ใบยาสูบ นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า ได้มาจากการสกัดสารนิโคตินจากใบยาสูบ
      บุหรี่ไฟฟ้าเสพติดเหมือนบุหรี่ธรรมดา สารที่ทำให้เกิดการเสพติดในบุหรี่ไฟฟ้าคือ สารนิโคตินเหลว ที่สกัดจากใบยาสูบ
      บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเป็นการเสพติดนิโคติน ซึ่งอำนาจการเสพติดสูงเทียบเท่าเฮโรอีน ซึ่งนิโคตินจะออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง กระตุ้นหัวใจทำให้เส้นเลือดหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ทางการแพทย์การเสพติดนิโคตินจัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง
      ปัจจุบันยัง ไม่มีหลักฐาน การศึกษาที่ชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้า ช่วยให้เลิกบุหรี่ง่ายขึ้น ตามที่ผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้ากล่าวอ้าง แต่สิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ยังห้ามบุหรี่ไฟฟ้า เพราะเห็นวัยรุ่นในอเมริกาที่ไม่เคยสูบบุหรี่ แต่ตอนนี้ติดบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นปัญหาใหม่ที่ประเทศต่าง ๆ เฝ้าจับตาระวังอย่างใกล้ชิด และยังไม่เปิดให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลไทยห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2558 จึงสมควรห้ามต่อไป เพื่อป้องกันเยาวชนเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า

       

      • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
      • คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

      .https://www.youtube.com/watch?v=PQhhjxxMzio
       https://youtu.be/3n_ZhGZT0ZE
       https://youtu.be/-IfprIXYmeE
       https://youtu.be/eaBT7dh3F-k

      • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
      • งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

       https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/30476/26289/67291

      • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
      • แหล่งอ้างอิง

      • https://www.bangkokhospital.com/content/electric-cigarette
      • https://www.thaithrnetwork.com/th/e-cigarette-is/
      • https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/02052020-1642

      วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

      กิจกรรมที่ 4 พรบ.คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2/2560)

       

      ⭒❃.✮:▹ พรบ.คอมพิวเตอร์ ◃:✮.❃⭒


      พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร ?


      พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้

      ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้



      ———————

      สาระสำคัญ



      ———————

      13 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์




      —————————-
      บทลงโทษการกระทำความผิด
      https://www.softnix.co.th/2020/04/01/เจาะลึกกฎหมายพรบคอมพิว/


      ———————
      สรุปพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

      พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. นี้ไว้ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลย อีกทั้งการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย


      —————-

      กรณีศึกษาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

      กรณีคดีของคุณบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44

      ซึ่งคุณบริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องความเป็นธรรมต่อศาลว่า ปัจจุบันได้มีการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 แล้ว โดยพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ผลก็คือ อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

      เราก็จะเริ่มเห็นว่า ได้เริ่มมีการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กันอย่างจริงจัง และมีการปรับใช้ให้ตรงตาม พ.ร.บ. ที่แก้ไข ไม่ใช่แค่จับกุมผู้ทำผิด แต่ยังคุ้มครองผู้ที่ไม่มีความผิดใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 2 แล้ว

      ——————

      พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเต็ม

      https://www.slideshare.net/qnlivyatan/2560-78219147

      PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

      PDPA (Personal Data Protection Act B.E. 2562) หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คือกฎหมายซึ่งมีขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อห้ามใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล (มีข้อยกเว้น) และบุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับข้อมูลจะต้องไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกัน (ตกลงกันในสัญญา) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้แก่

      1. ชื่อ – นามสกุล
      2. เลขประจำตัวประชาชน
      3. ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
      4. อีเมล
      5. ข้อมูลทางการเงิน
      6. เชื้อชาติ
      7. ศาสนา
      8. พฤติกรรมทางเพศ
      9. ประวัติอาชญากรรม
      10. ข้อมูลสุขภาพ
      https://www.mtl-insure.com/article/pdpa-คืออะไร/

      —————

      วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

      What is blog?

      ✧*̥˚HOW  TO  CREATE  BLOG*̥˚✧

      1.ลงชื่อเข้าใช้ Blogger

       2.กดสร้างบล็อคของคุณ

       

      3.ตั้งชื่อ blog แล้วกดถัดไป

      4.ใส่ URL ของบล็อค

      5.ยืนยันชื่อที่แสดง แล้วกดเสร็จสิ้น

      6.เมื่อกดเสร็จสิ้น จะขึ้นหน้า blog ของเรา


      cr. https://www.youtube.com/watch?v=cPFy2X-ngdQ
      ☆✼★★✼☆

      ✧*̥˚CHANGE  THEME *̥˚✧

      1.ลงชื่อเข้าใช้ Blogger

      2.ที่ด้านซ้าย ให้คลิกลูกศรลง 

      3.คลิกบล็อกใหม่

      4.ใส่ชื่อบล็อก

      5.คลิกถัดไป

      6.เลือกที่อยู่หรือ URL ของบล็อก

      7.คลิกบันทึก

      cr. https://www.youtube.com/watch?v=20JBSi9-Cls&t=1s

      ☆✼★★✼☆

      ✧*̥˚ADD MUSIC *̥˚✧

      1. เข้าไปที่ youtube เพื่อหาเพลงที่ต้องการ

      2. คลิก เเบ่งปัน -> ฝัง 

      3. Copy Code 

      4. เข้ามาที่ Blogger  ไปที่ รูปแบบ -> เพิ่ม Gedget -> HTML/จาวาสคริปต์ 

      5. ทำการวาง Code ที่คัดลอกมา

      6.  ให้เราพิมคำว่า ;autoplay=1 ต่อท้ายคำว่า rel=0 

      7. กด บันทึก

      cr. https://www.youtube.com/watch?v=55zi6eG6gFQ&t=123s

       ☆✼★★✼☆

      ✧*̥˚ADD VIDEO *̥˚✧

      1. ลงชื่อเข้าใช้ Blogger

      2. เลือกบล็อกที่ด้านซ้ายบน

      3. คลิกโพสต์ที่คุณต้องการเพิ่มวิดีโอ

      4. คลิกแทรกวิดีโอ  ที่ด้านบน

      5. คุณจะอัปโหลดวิดีโอจากคอมพิวเตอร์หรือเลือกวิดีโอจาก YouTube ได้

      6. เลือกวิดีโอแล้วคลิกแทรก

      cr. https://www.youtube.com/watch?v=e8tmz7Cs_f0&t=1s

      ☆✼★★✼☆

      ✧*̥˚CHANGE  CURSOR *̥˚✧

      1. เข้าไปที่เว็บ http://www.cursors-4u.com 

      2. เลือกแบบเมาส์ที่ต้องการ

      3. เมื่อได้แบบของเมาส์ที่ต้องการแล้วก็คลิกเข้าไป

      4. ให้หาแท็บที่เขียนว่า blogger/blogspot 

      5. copy โค้ดจากช่องล่างที่เขียนว่า new blogger/blogspot interface

      6. ไปที่ blogger.com ล็อกอินเข้าหน้าแดชบอร์ด

      7. เลือกบล็อกที่เราจะเปลี่ยนรูปเมาส์ แล้วกดลูกศรชี้ลงที่หมายเลข 4 

      8. ก็กดตรง "แก้ไขHTML"

      9.  ใต้บรรทัดที่ 14 จะมีบรรทัดว่างอยู่ 1 บรรทัด ให้เอาโค้ดที่เรา copy มา Paste ลงตรงนั้น จากนั้นก็กดบันทึกเทมเพลต

      cr. https://www.youtube.com/watch?v=N73QPWpBZ44

      ☆✼★★✼☆