วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2565

กิจกรรมที่ 4 พรบ.คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่2/2560)

 

⭒❃.✮:▹ พรบ.คอมพิวเตอร์ ◃:✮.❃⭒


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร ?


พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้

ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้



———————

สาระสำคัญ



———————

13 ข้อต้องรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์




—————————-
บทลงโทษการกระทำความผิด
https://www.softnix.co.th/2020/04/01/เจาะลึกกฎหมายพรบคอมพิว/


———————
สรุปพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. นี้ไว้ เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลย อีกทั้งการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย


—————-

กรณีศึกษาเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

กรณีคดีของคุณบริบูรณ์ เกียงวรางกูล ที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นประมาท และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) จากการโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ตำรวจเข้าค้นบ้าน โดยอ้างอำนาจตาม มาตรา 44

ซึ่งคุณบริบูรณ์ได้ยื่นหนังสือร้องความเป็นธรรมต่อศาลว่า ปัจจุบันได้มีการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 แล้ว โดยพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ยกเลิกข้อความใน มาตรา 14 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเดิม และบัญญัติใหม่ไว้ว่า ห้ามมิให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้ลงโทษกับการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา จึงขอให้อัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ผลก็คือ อัยการศาลจังหวัดราชบุรีมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีบริบูรณ์ในข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

เราก็จะเริ่มเห็นว่า ได้เริ่มมีการใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กันอย่างจริงจัง และมีการปรับใช้ให้ตรงตาม พ.ร.บ. ที่แก้ไข ไม่ใช่แค่จับกุมผู้ทำผิด แต่ยังคุ้มครองผู้ที่ไม่มีความผิดใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 2 แล้ว

——————

พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับเต็ม

https://www.slideshare.net/qnlivyatan/2560-78219147

PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

PDPA (Personal Data Protection Act B.E. 2562) หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 คือกฎหมายซึ่งมีขึ้นเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อห้ามใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล (มีข้อยกเว้น) และบุคคลหรือนิติบุคคลที่ได้รับข้อมูลจะต้องไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกัน (ตกลงกันในสัญญา) ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้แก่

  1. ชื่อ – นามสกุล
  2. เลขประจำตัวประชาชน
  3. ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์
  4. อีเมล
  5. ข้อมูลทางการเงิน
  6. เชื้อชาติ
  7. ศาสนา
  8. พฤติกรรมทางเพศ
  9. ประวัติอาชญากรรม
  10. ข้อมูลสุขภาพ
https://www.mtl-insure.com/article/pdpa-คืออะไร/

—————