วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

กิจกรรมที่ 6 ข้อมูลสำหรับทำโครงงานคอมพิวเตอร์


บุหรี่ไฟฟ้าดีกว่าบุหรี่มวนจริงไหม ?

Cr. https://thenoblethiefs.com/ส่วนประกอบของบุหรี่ไฟฟ/

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ปกติทั่วไป ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 3 ส่วน คือ แบตเตอรี่  ตัวทำให้เกิดไอและความร้อน และน้ำยา ถ้ากล่าวถึงเฉพาะส่วนของน้ำยาที่จะถูกทำให้เป็นไอและเข้าสู่ร่างกายของผู้สูบจะประกอบด้วยสารประกอบหลัก ๆ คือ
    • นิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่พบได้ในทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ปกติทั่วไป เป็นสารที่ทำให้ร่างกายเสพติดการสูบบุหรี่
    • โพรไพลีนไกลคอล เป็นส่วนประกอบในสารสำหรับการทำให้เกิดไอ
    • กลีเซอรีน เป็นสารเพิ่มความชื้นที่จะผสมผสานกับสารโพรไพลีนไกลคอล  องค์การอาหารและยา (FDA) ยืนยันถึงความปลอดภัยว่าใช้ได้ทั้งในอาหารและยา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย เช่นเดียวกันกับโพรไพลีนไกลคอล
    • สารแต่งกลิ่นและรส เป็นสารเคมีที่ใช้กับอาหารทั่ว ๆ ไป ซึ่งมีความปลอดภัยเมื่อรับประทานเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเมื่อเปลี่ยนรูปแบบเป็นไอที่สูบหรือสูดแล้วเกิดผลกระทบอย่างไรต่อร่างกาย

https://mpics.mgronline.com/pics/Images/562000010100801.JPEG

  • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈

การทำงานของบุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้าใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ทำความร้อน เมื่อน้ำยา (e-liquid หรือ e-juice) ที่ถูกบรรจุใส่ในสำลีสัมผัสเข้ากับขดลวด จึงถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นไอระเหยส่งผ่านนิโคตินไปยังผู้ใช้ ทั้งนี้ จุดเด่นของบุหรี่ไฟฟ้าคือ การตัดการเผาไหม้ ไม่มีควัน ไม่มีขี้เถ้า จึงลดความเสี่ยงจากการรับสารพิษต่างๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ในบุหรี่ธรรมดา เช่น สารคาร์บอนมอนนอกไซด์ และทาร์

https://mpics-cdn.mgronline.com/pics/Images/557000004923501.JPEG

  • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
  • กฏหมายไทยกับบุหรี่ไฟฟ้า

    ในปัจจุบัน บุหรี่ไฟฟ้ายังไม่สามารถซื้อขายกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายประเทศไทย มีการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายผ่านตลาดมืดหรือหรือทางอินเทอร์เน็ต โดยประกาศ กฎหมาย และความผิดที่เกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยมีรายละเอียดดังนี้

    ห้ามส่งออกหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พุทธศักราช 2557 หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ

    ห้ามขายหรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เกี่ยวกับการห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้าประเภทบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาสำหรับเติมบุหรี่ไฟฟ้า

    • ผู้ขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • ผู้ผลิตหรือสั่งนำเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • ผู้ให้บริการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    • หากมีการฝ่าฝืนจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      • https://www.ethailandlaw.com/images/infographic/law_Infographic_068.jpg


        • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈

      บุหรี่ไฟฟ้ากับบุหรี่มวน

      เป็นความจริงที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีกลไกการทำงานที่ไม่มีกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ธรรมดา ทำให้ผู้สูบลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารที่เป็นอันตรายจากการเผาไหม้บางตัวเช่นน้ำมันดินหรือทาร์ (Tar) และคาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ  

      แต่จากที่กล่าวมาข้างต้นสารประกอบอื่น ๆ ที่พบในบุหรี่ไฟฟ้าก็ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ไม่แพ้กัน นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยที่ระบุว่า ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดอนุภาคที่เล็กกว่าบุหรี่ธรรมดา ทำให้สามารถถูกสูดเข้าไปในปอดส่วนลึกได้มากกว่า อนุภาคที่เล็กนี้จะจับเข้ากับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็วและยากที่กลไกธรรมชาติของร่างกายจะขับออกมาได้  

      มีภาษิตฝรั่งบทหนึ่งกล่าวว่า “ผีที่รู้จักก็ยังดีกว่าผีที่ไม่รู้จัก” เรารู้จักบุหรี่ธรรมดากันมานานมากแล้ว มีการวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับอันตรายของมันอย่างแทบจะทุกแง่ทุกมุมแล้ว จึงทำให้เราตระหนักในโทษภัย และเฝ้าระวังมันได้อย่างดี แต่ด้วยความที่บุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นของใหม่มาก เรายังไม่มีข้อมูลวิจัยที่มากพอที่จะระบุถึงอันตรายของสารเคมีแต่ละตัวในบุหรี่ไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่ใช้ไปนาน ๆ ในระยะยาว ๆ ซึ่งการที่ยังไม่มีข้อมูลว่าอันตรายไม่ใช่แปลว่าไม่มีอันตราย เพียงแต่ผู้ที่เกี่ยวข้องยังต้องมีหน้าที่ที่จะต้องติดตามศึกษากันต่อไป

      https://relxthailand.com/wp-content/uploads/2020/04/Artboard-6-100-1-800x800.jpg 

        • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈

      บุหรี่ไฟฟ้าทางออกของคนอยากเลิกบุหรี่จริงหรือ?

      บุหรี่ไฟฟ้าเป็นยาสูบชนิดใหม่ ที่ผู้สูบจะได้รับสารนิโคติน ที่ระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย การสูบุหรี่ไฟฟ้าเป็นวิธีการนำสารเสพติดนิโคตินเข้าสู่ร่างกายเช่นเดียวกับบุหรี่ แต่ไม่มีการเผาไหม้ใบยาสูบ นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้า ได้มาจากการสกัดสารนิโคตินจากใบยาสูบ
      บุหรี่ไฟฟ้าเสพติดเหมือนบุหรี่ธรรมดา สารที่ทำให้เกิดการเสพติดในบุหรี่ไฟฟ้าคือ สารนิโคตินเหลว ที่สกัดจากใบยาสูบ
      บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเป็นการเสพติดนิโคติน ซึ่งอำนาจการเสพติดสูงเทียบเท่าเฮโรอีน ซึ่งนิโคตินจะออกฤทธิ์กระตุ้นสมอง กระตุ้นหัวใจทำให้เส้นเลือดหดตัว ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ทางการแพทย์การเสพติดนิโคตินจัดเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง
      ปัจจุบันยัง ไม่มีหลักฐาน การศึกษาที่ชัดเจนว่า บุหรี่ไฟฟ้า ช่วยให้เลิกบุหรี่ง่ายขึ้น ตามที่ผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้ากล่าวอ้าง แต่สิ่งที่ประเทศต่าง ๆ ยังห้ามบุหรี่ไฟฟ้า เพราะเห็นวัยรุ่นในอเมริกาที่ไม่เคยสูบบุหรี่ แต่ตอนนี้ติดบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นปัญหาใหม่ที่ประเทศต่าง ๆ เฝ้าจับตาระวังอย่างใกล้ชิด และยังไม่เปิดให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลไทยห้ามนำเข้าและห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้ามาตั้งแต่ พ.ศ.2558 จึงสมควรห้ามต่อไป เพื่อป้องกันเยาวชนเสพติดบุหรี่ไฟฟ้า

       

      • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
      • คลิปวิดีโอที่เกี่ยวข้อง

      .https://www.youtube.com/watch?v=PQhhjxxMzio
       https://youtu.be/3n_ZhGZT0ZE
       https://youtu.be/-IfprIXYmeE
       https://youtu.be/eaBT7dh3F-k

      • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
      • งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

       https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/download/30476/26289/67291

      • -ˋˏ✄┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈┈
      • แหล่งอ้างอิง

      • https://www.bangkokhospital.com/content/electric-cigarette
      • https://www.thaithrnetwork.com/th/e-cigarette-is/
      • https://www.rama.mahidol.ac.th/rama_hospital/th/services/knowledge/02052020-1642